สมศ. เปิดคุณสมบัติผู้ประเมินภายนอก

สมศ. หรือ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์ และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา

ซึ่ง ดร. นันทา หงวนตัด รักษาการผู้อำนวยการ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับรายละเอียดที่น่าสนใจของผู้ประเมินภายนอกไว้ดังนี้

เริ่มต้นจากคำนวณสถานศึกษา จากนั้นนำมาพิจารณาเทียบกับจำนวนผู้ประเมินที่มีอยู่ ว่ามีเพียงพอหรือไม่ โดยจะเกินได้ประมาณ 10% ต่อปี ในกรณีที่ระดับไหนขาด ก็จะเปิดรับสมัครทั่วประเทศ ยกเว้นส่วนใหญ่ว่าทั่วประเทศเพียงพอแล้วในเชิงปริมาณ แต่ในระดับภูมิภาคยังขาด ก็จะเปิดรับ แต่ส่วนใหญ่ไม่ค่อยเปิดรับภูมิภาค จะใช้วิธีการข้อบังคับ ซึ่งมี 3 แบบ คือ
1. คัดเลือก – เปิดรับสมัครและสอบ training ทั่วไป
2. สรรหา – ทำจดหมายส่งไปยังต้นสังกัดที่เกี่ยวข้อง เช่น ถ้าเกิดเป็นแบบภูมิภาคที่หมู่บ้าน สมศ ก็จะใช้วิธีการสรรหา ก็คือทำจดหมายขอความร่วมมือไปยังต้นสังกัดว่าต้องการผู้ประเมินที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ให้ หากต้นสังกัดมีก็แนะนำมา เพื่อเข้ามารับการอบรมผู้ประเมิน
3. ทาบทาม – ส่วนใหญ่ใช้กับระดับอาชีวะ กศน หรือไม่ก็ระดับอุดม ซึ่งมีอัตราอยู่ที่ประมาณ 20%

ผู้ประเมินแต่ละภูมิภาค

ผู้ประเมินจะมีอยุ่ตามจังหวัดทั่วประเทศ และสมศแบ่งเป็นโซน สมมติโซนที่ 1 มีกรุงเทพ ราชบุรี กาณจนบุรี สุพรรณบุรี เวลาจะประเมินสถานศึกษา ก็ดูว่าปีนี้ ต้นสังกัดส่งรายชื่อมาทั้งหมดกี่แห่ง ใน 4 จังหวัดนี้ เสร็จแล้วเวลาจะจัดประเมิน ก็จะดูกลุ่มผู้ประเมินที่อยู่ในโซน 4 จังหวัดนี้

เพียงแต่ว่าผู้ประเมินกรุงเทพ ต้องไม่ประเมินกรุงเทพ ก็ต้องไปประเมินจังหวัดอื่น คืออยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่ต้องไม่ประเมินจังหวัดตัวเอง ยกเว้นกรุงเทพที่มีขนาดใหญ่ อาจจะให้ตะวันออกไปประเมินตะวันตกในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ แต่ถ้าเลี่ยงได้ จะไม่ให้ประเมินจังหวัดตัวเอง

โรงเรียนจะรู้จักผู้ประเมินก็ได้หรือไม่

ทางโรงเรียนจะรู้จักหรือไม่รู้จักผู้ประเมินก็ได้ ไม่มีปัญหา เพียงแต่ว่าต้องไม่เกิด conflict เพราว่าจะกลัวในเรื่องผลการประเมินอาจจะไม่ตรง

“ซึ่งการที่จะรู้จัก เขาไม่ได้รู้จักทุกคนอยู่แล้ว คือเราส่งไป 3 คนเขารู้จักทั้ง 3 คนเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าในการประเมินต้องทำงานเป็นทีม เมื่อไหร่ที่ผลการประเมินไม่ตรงกัน กับที่สถานศึกษาอุธรณ์มา ทางสมศเองก็มีวิธีการ คือถ้าไม่เปลี่ยนผลตามสถานศึกษาไม่เป็นไร เมื่อไหร่ที่ต้องแก้ผลตามที่สถานศึกษาอุธรณ์ มันจะเป็นความรับผิดชอบของผู้ประเมินละ กับหน่วยกำกับ”

จากโรงเรียนประมาณ 50,000 กว่าแห่งทั่วประเทศ จะใช้หน่วยกำกับมาช่วยอย่างระมัดระวัง และการประเมินจะมีผลกับคะแนน มีผลกับการรับงานในรอบต่อไป จะทำให้ผู้ประเมินระมัดระวังมากขึ้น และผู้ประเมินก็จะส่งงานมายังหน่วยกำกับ หน่วยกำกับก็ต้องระมัดระวังมากขึ้นเพราะว่าเป็นความผิดร่วมกัน

บุคคลภายนอกที่สนใจต้องทำอย่างไรบ้าง

ถ้าคุณสมบัติได้ก็สมัครได้เลย คือจริง ๆ แล้วสมัครทิ้งไว้ก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ก็คือถ้าเกิดรอประกาศก็ได้ แล้วแต่ ช่องทางที่หน้า facebook กับหน้า website และก็ในกลุ่ม line ผู้ประเมิน, กลุ่มของหน่วย, official สำนักงาน แต่แนะนำ facebook จะมีแจ้งเตือนตลอด

ต้องต่ออายุหรือไม่

เราจะรับรองครั้งละ 3 ปี แต่ต่ออายุเราก็จะมีเกณฑ์ของเราอีกว่าที่ผ่านมารับงานเท่าไหร่ ปฏิเสธงานได้ไม่เกิน 20%  เพราะถ้าปล่อยให้ปฏิเสธงานกันหมดจะกลายเป็นว่า สมศ ประเมินไม่ได้ ต้องไปพัฒนา competency? ของคุณตามหลักสูตร ตามชั่งโมงที่ สมศ กำหนด แต่ต่อไปก็พยายามจะทำให้เข้มข้นขึ้น อาจจะมีการ upgrade อะไรเล็กๆน้อยๆ ที่กำลังคิดอยู่

จะมีการประเมินผู้ประเมินหรือไม่

จริง ๆ แล้วในการประเมิน qc100 ของเรา จะเป็นแบบสอบถามที่มี 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 สถานศึกษาจะเป็นผู้ประเมิน แล้วก็วิ่งเข้า สมศ เลย
กลุ่มที่ 2 ผู้เมินที่ไปทีมเดียวกัน บางทีจะมีปัญหาเกี่ยงงานกัน อีกคนไม่อยากทำงานของอีกคน คุยกันมีปัญหากัน เราก็เลยต้องประเมินในทีมกันด้วย ให้ 3 คนเขาประเมินกันเอง โดยแต่ละคนก็ไม่รู้ว่าใครประเมินอะไรใคร โดยจะวิ่งรวมไปที่ สมศ
กลุ่มที่ 3 หน่วยกำกับที่ดูแลผู้ประเมิน บางทีให้หน่วยไป training เพิ่มเติมที่ สมศ เตรียมไว้ เพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด การจะรับรองหน่วย หรือการให้คะแนนหน่วย พี่ก็ให้ผู้ประเมิน ประเมินหน่วยด้วยนะ

คือ สมศ ยึดความเป็นกลาง จะไม่มีการฮั๊วกัน และอีกส่วนคือ สมศ จะประเมินเจ้าหน้าที่ ที่ดูแลผู้ประเมินแต่ละคนอีกที ก็จะมีหลายกลุ่มนิดนึง แต่อย่างที่แถลงไปก็คือจะเอาเฉพาะของสถานศึกษามาดูว่าเป็นไง รู้สึกอย่างไรกับผู้ประเมิน เพื่อเอามาปรับปรุงพัฒนา ส่วนที่เขาประเมินกันเองก็เพื่อดูปฏิสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม

Find More Love