
SACIT ตอกย้ำคุณค่า “เครื่องรัก-เครื่องมุก” มรดกภูมิปัญญาที่ใกล้สูญหาย ผ่านนโยบาย “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” มุ่งสร้างเครือข่ายหัตถกรรม ควบคู่ผลักดันถ่ายทอดองค์ความรู้
สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) หรือ SACIT เดินหน้าตอกย้ำคุณค่าศิลปหัตถกรรมไทย ชูงาน “เครื่องรัก-เครื่องมุก” ผ่านนโยบาย “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” ขับเคลื่อนนโยบายการอนุรักษ์งานฝีมือทรงคุณค่า และสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าให้อยู่คู่สังคมไทย มุ่งสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนทักษะเชิงช่าง และเชิดชูผู้สร้างสรรค์ศิลปหัตถกรรม ควบคู่ผลักดันการถ่ายทอดองค์ความรู้ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา ผศ.ดร.อนุชา ทีรคานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย กล่าวว่า เพื่อตอกย้ำการดำเนินงานของ SACIT ในการส่งเสริมงานศิลปหัตถกรรมไทยให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืน จึงมีนโยบายในการสืบสาน อนุรักษ์ “หัตถศิลป์ที่คิดถึง” หรือ กลุ่มงานศิลปหัตถกรรมไทยมรดกทางภูมิปัญญาของประเทศที่ใกล้สูญหายให้คงยังคงอยู่กับคนรุ่นหลัง โดยในปี 2568 นี้ SACIT ได้มุ่งเน้นถ่ายทอดองค์ความรู้ และให้ความสำคัญกับงาน “เครื่องรัก-เครื่องมุก” ซึ่งเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่สะท้อนถึงคุณค่า และเสน่ห์ของงานหัตถศิลป์ที่มีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน ผลักดันการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา พร้อมปูทางเชื่อมโยงองค์ความรู้ และกระบวนการทักษะเชิงช่างในระดับนานาชาติ “สำหรับนโยบายการสืบสานและส่งเสริมคุณค่าหัตถกรรมไทยที่ใกล้สูญหาย มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมไทยอันทรงคุณค่าและสืบทอดมรดกภูมิปัญญา พร้อมทั้งผลักดันผลิตภัณฑ์ในกลุ่มงาน ‘หัตถศิลป์ที่คิดถึง’ ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ โดย SACIT มุ่งเชื่อมโยงองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายงานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องรักในระดับสากล ผ่านการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การสร้างเครือข่ายงานศิลปหัตถกรรม “Local Craft to Global Market” เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางพัฒนางานศิลปหัตถกรรมและแนวทางการส่งเสริมองค์ความรู้งานศิลปหัตถกรรมประเภทเครื่องรัก […]
Read More