CMMU เปิดลิสต์ “3 เทรนด์ตลาดจรัสแสงครึ่งหลังปี 66” ‘มุสลิม – อาหารฮาลาล – ทริปเปิลเอส’ กำลังจะมา!

CMMU

CMMU เผย ‘มุสลิม – อาหารฮาลาล - ทริปเปิลเอส’ บิ๊กมาร์เก็ตที่ ผปก. ต้องเกาะติดพร้อมส่งหลักสูตรปั้น SMEs ระดับ MVP พาธุรกิจสู่ระดับโกลบอล

วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ชี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจในปัจจุบันหมุนไปอย่างรวดเร็วและแตกต่างจากโมเดลในอดีตอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องเกาะติดเทรนด์ใหม่ ๆ แบบเรียลไทม์ พร้อมเผย เผย 3 เทรนด์ตลาดที่ส่งผลกระทบเชิงบวกในช่วงครึ่งปีหลัง ได้แก่ ตลาดมุสลิม ตลาดอาหารฮาลาล และตลาดทริปเปิลเอส (Triple S) ซึ่งประกอบด้วย เศรษฐกิจยั่งยืน (Sustainable Economy) สังคมผู้สูงอายุ (Silver Population) และสังคมสาวโสด (Single Woman) ซึ่งกำลังมาแรงในช่วงครึ่งหลังปี 66 โดยยังชี้โอกาสผู้ประกอบการ SMEs ไทยควรผันตัวสู่ นักสร้างธุรกิจ (Business Creator) มืออาชีพ โดยเฉพาะการรุกเป็นผู้ส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดต่างประเทศ และมีหลักสูตรภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Entrepreneurship And Innovation Program: EI) ที่จะช่วยขยายศักยภาพผู้ประกอบไทยด้านการออกแบบ การคิดต่างด้วยนวัตกรรมใหม่ รวมถึงสร้างคอนเนคชั่นเพื่อก้าวสู่นักธุรกิจระดับ MVP

CMMU

ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ หัวหน้าสาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจที่เกิดขึ้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแค่ในประเทศไทยอย่างเดียว แต่เกิดขึ้นทั่วโลก โดยในอดีตการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจโลกมีระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงถึง 50 ปี แต่จากหลากหลายปัจจัยที่เกิดขึ้น อาทิ การปฏิวัติอุตสาหกรรม หรือแม้แต่สงครามโลก ทำให้ระยะเวลาการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกลดลงมาเหลือเพียง 10 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาที่รวดเร็วพอสมควร จากปรากฏการณ์ที่ผันแปรรวดเร็วนี้ ทำให้บรรดาผู้ประกอบการยึดโยงตัวเองกับตลาดกลุ่มเก่าไม่ได้อีกต่อไป ต้องหันมาวิเคราะห์ความน่าจะเป็นในการเจาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อให้ก้าวทันเทรนด์ธุรกิจใหม่ในโลกอนาคต รวมถึงเข้าใจการเกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และลักษณะทางประชากรที่เปลี่ยนไปด้วย

“ข้อมูลจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เผย 3 เทรนด์ตลาดที่น่าจับตามองครึ่งหลังปี 2566 มีดังนี้

1. ตลาดมุสลิม มีแนวโน้มเป็นตลาดแห่งอนาคตขนาดใหญ่ เนื่องจากปัจจุบันตลาดมุสลิมมีอัตราส่วนมากถึง 1 ใน 4 ของประชากรโลก มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจ และที่สำคัญมีศักยภาพกำลังซื้อที่สูงมาก

2. ตลาดอาหารฮาลาล มีมูลค่าสูงถึง 2.6 ล้านล้านเหรียญ หรือใหญ่เป็น 15 เท่าของ GDP ประเทศไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหารกระป๋องกับฟรีซดราย (Freeze Dry) ที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากไม่เสียง่ายจากสภาพอากาศ

CMMU

3. ตลาดทริปเปิลเอส (Triple S) ประกอบด้วย 3Sเริ่มที่ เศรษฐกิจยั่งยืน (Sustainable Economy) ที่เติบโตมากถึง 3.5 ล้านล้านเหรียญ เห็นได้จากกระแสตลาด BCG ที่เติบโตถึง 21% ต่อปี เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์สินค้าที่ย่อยสลายได้ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องใส่ใจสินค้าและบริการที่มีความเกี่ยวเนื่องกับความยั่งยืนให้มากขึ้นเรื่อยๆสังคมผู้สูงอายุ (Silver Population) ด้วยประชากรอายุ 50 ปีขึ้นไปจะมีเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เทรนด์อาหารฟังก์ชัน (Functional Food) ที่จะมีการนำนวัตกรรมมาช่วยเสริมสร้างคุณประโยชน์ในสารอาหารได้รับความนิยมสูงขึ้นในอนาคต และสังคมสาวโสด (Single Woman) เนื่องด้วยสังคมปัจจุบันผู้หญิงใช้ชีวิตโสดมากขึ้น และหาความสุขจากการซื้อของ โดยเฉพาะของสวยงาม ทำให้ตลาดสินค้าฟุ่มเฟือย หรือ Luxury Goodsมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นต่อเนื่องตามกำลังซื้อของสาวโสดในยุคนี้

CMMU
CMMU
CMMU

ดร. ตรียุทธ กล่าวต่อว่า นอกจากการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดเทรนด์การทำธุรกิจใหม่ๆ ตลอดเวลาแล้ว ธุรกิจกลุ่ม SMEs ไทย เองก็ต้องมีการวางโร้ดแมพของธุรกิจให้ชัดเจนเช่นกัน พร้อมกับเปลี่ยนวิธีการคิดให้กลายเป็นนักธุรกิจไทยในฐานะ ผู้ส่งออกสินค้าระดับ MVP ที่ก้าวเข้าสู่โลกธุรกิจในต่างประเทศที่ไม่ใช่เพียงจำกัดการส่งออกภายในประเทศเท่านั้น ถึงแม้ปัจจุบันมีอุปสรรคด้านประชากรไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% ส่งผลให้ตลาดในประเทศมีศักยภาพไม่มากพอในการเดินหน้าธุรกิจ แต่หากรู้     กลยุทธ์ที่ทำให้สินค้าและการบริการ ถูกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศได้มากขึ้น ก็จะช่วยเพิ่มช่องทางสร้างรายรับเข้ามาในธุรกิจได้ ซึ่งหากพิจารณามุมของรายได้สุทธิ จะพบว่า รายได้จากการส่งออกตลาดต่างประเทศ เติบโตกว่าตลาดในประเทศถึง 4 เท่า ฉะนั้นการวางเป้าหมายของการเป็น ผู้ส่งออกจึงสำคัญไม่น้อย

CMMU

การเติมเต็มผู้ประกอบการให้มีความเข้าใจโลกการทำธุรกิจให้มากขึ้น กระตุ้นให้สร้างโร้ดแมพที่เป็นรูปธรรม พร้อมทั้งหล่อหลอมให้กลายเป็น “นักสร้างธุรกิจ” หรือ “Business Creator” มืออาชีพระดับ MVPเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญของ CMMU โดยดำเนินงานผ่านหลักสูตรภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทั้ง “ภาวะผู้ประกอบการ” และ “สามารถสร้างนวัตกรรมได้” ทำให้ผู้ประกอบการ ผู้ต้องการเริ่มต้นทำธุรกิจ รวมถึงธุรกิจกลุ่ม SMEs สามารถออกแบบธุรกิจ จุดประกายความคิดต่างที่สดใหม่ และสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดี ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรผู้เรียนจะได้แผนการดำเนินธุรกิจ (Business Plan) ที่สมบูรณ์แบบ สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจของตนเองได้ โดยหลักสูตรเปิดให้เรียนวันเสาร์และอาทิตย์ รวมถึงยังมีพาร์ทเนอร์อย่าง EXIM BANK ที่ช่วยให้ผู้ประกอบการไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ไม่ยากมาเสริมกำลังด้วยดร. ตรียุทธ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจจะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรไทยและหลักสูตรนานาชาติ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเพจเฟซบุ๊ก CMMU Mahidol (https://www.facebook.com/CMMUMAHIDOL)
Find More Love