วันโกน คือ วันอะไร มีความเป็นมาอย่างไรในพระพุทธศาสนา

shavingday

วันโกน คือ วันก่อนวันพระใหญ่ วันขึ้น 7 ค่ำ กับ 14 ค่ำ และแรม 7 ค่ำ กับแรม 14 ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ แรม 13 ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ 1 วัน

วันโกนคือ,ความเป็มมา


วันโกน คืออะไร ความเป็นมาในทางพระพุทธศาสนา

สมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ที่เขาคิชกูฏ ใกล้เมืองราชคฤห์เป็นเมืองหลวงของแคว้นมคธ และกราบทูลว่า นักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี

พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวัน 8 ค่ำ 14 ค่ำ และ 15 ค่ำ

พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวัน ธรรมสวนะ หรือวันพระ (ในไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย) มคธ

shavingday


ในทางกิจของสงฆ์ พระโกนศีรษะกัน 2 อาทิตย์ครั้ง (ก่อนวันพระใหญ่) นอกจากการโกนศีรษะแล้ว อีกสิ่งที่ทำในวันโกน คือ การซักย้อมผ้าไตร

ก่อนวันโกน พระจะต้องเตรียมเตา เตรียมฟืนเพื่อต้มแก่นขนุน ซึ่งจะทำทุก 15 วันตามพระวินัย ผ้าที่ย้อมด้วยแก่นขนุนจะดูแลยากกว่าผ้าสีมาก เพราะแค่โดนน้ำนิดหน่อยก็จะด่างแล้ว ดังนั้นผู้ครองผ้าจะต้องมีสติระวังมาก ๆ การซักย้อมจะใช้พลังงานเยอะมาก เพราะผ้าทั้ง 3 ผืนทั้งใหญ่และอุ้มน้ำแถมยังซักในน้ำร้อนอีก

วันโกนคือ,ความเป็มมา


ความเชื่อเกี่ยวกับวันโกนในบางท้องถิ่น

เวลาวันโกนให้ใส่บาตร แล้วจะได้บุญ นิยมทำบุญให้เจ้ากรรมนายเวร ผีสาง คน และสัตว์ที่ตกทุกข์ได้ยาก เชื่อว่าพญายมราชจะอนุญาตให้วิญญาณมารับส่วนบุญ

พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ได้ให้แง่คิดไว้ว่า

“ในวันโกน-วันพระ ก็คือการหันกลับมาฟื้นฟูจิตใจให้อยู่ในครรลองคลองธรรม เพื่อที่ว่าชีวิตจะได้ไม่วิ่งวุ่นไปข้างหน้าโดยขาดสติทุกคืนทุกวัน การมีวันโกน-วันพระ ขึ้นมาในพระพุทธศาสนาจึงนับว่าเป็นวิธีสร้างสมดุลให้กับชีวิตและจิตใจโดยแท้”

สรุปแล้วการที่เรียกว่า วันโกน ก็เพราะในวันนี้เป็นวันที่พระสงฆ์ทำการโกนผมบนศีรษะให้สะอาด เพื่อความเรียบร้อยก่อนวันพระนั่นเอง

Find More Love